ns
N. S. PLUS ENGINEERING CO., LTD บริษัท เอ็น.เอส. พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
top

engineer
 

 + การตรวจสอบอาคาร
   วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
   บทบาทของกฎหมาย
   ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบ
   คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ

 + กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

 + Link
   กรมโยธาธิการและผังเมือง
   วิศวกรรมสถาน
   สภาวิศวกร
   สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร
   สภาสถาปนิก
   ASA รวมข้อมูลสถาปนิก
   สำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคาร
   สารบัญกฏหมายควบคุมอาคาร
   Thai Building Inspector
       
 
       
วิศวกรรมสถาน
สภาวิศวกร
สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร
สภาสถาปนิก
ASAสถาปนิกสยาม
ต่อยอดดอทคอม
boxing

 




title

 

• หากเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบสภาพอาคารจะมีโทษตามกฎหมายอย่างไร
             หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบอาคารจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันอีก วันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

• กฎหมายที่อ้างอิง
             
1. มาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
             2. กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548
             3. กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548

 

• รายละเอียดการตรวจสอบ
       
             - การตรวจสอบใหญ่
               เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ ตามที่กล่าวมาแล้ว โดยให้กระทำทุก 5 ปี ในการตรวจสอบใหญ่ทุกครั้ง
ผู้ตรวจสอบต้องจัดทำแผนต่างๆ ดังนี้

             (1) แผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งคู่มือปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวให้แก่
เจ้าของอาคารเพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษา และการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคาร

             (2) แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีรวมทั้งแนวทางการตรวจสอบตามแผนดังกล่าวให้แก่
เจ้าของอาคาร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปี
            
              - การตรวจสอบประจำปี
                เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการ
ตรวจสอบใหญ่ การตรวจสอบประจำปีให้กระทำทุกปี

 

• ขั้นตอนที่เจ้าของอาคารต้องดำเนินการ
       
             1. เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร และคู่มือปฏิบัติ ตามแผนดังกล่าว ที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบำรุงรักษา และการบันทึกข้อมูล การตรวจ บำรุงรักษาอาคาร นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีการบำรุงรักษาอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบ และอุปกรณ์อาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกำหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษา อาคารตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
             หากผู้ตรวจสอบเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะให้แล้วเสร็จ แล้วให้ผู้ตรวจสอบ ทำการ ตรวจสอบอีกครั้งแล้วทำรายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

             2. เจ้าของอาคารต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบของอาคารและอุปกรณ์ของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะ ต้องเสนอในสามสิบวันวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี เมื่อได้รับใบรับรองการตรวจสอบแล้ว ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบไว้ในที่เปิดเผยเห็น ได้ง่าย ณ อาคารนั้น              (ใบรับรองการตรวจสอบอาคารสามารถเปิดดูได้จากเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th)

             ภาพแสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1)

cer2

             3. สำหรับอาคารที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองประเภทอาคารควบคุมการใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องจัดให้มี การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประเภทการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรก

 

• ก่อนการตรวจสอบผู้ตรวจสอบต้องเตรียมตัวอย่างไร
       
             เจ้าของอาคารต้องจัดหาแปลนหรือแผนผังรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างหรือจัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคารไว้ให้ผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร

 

• การดำเนินการตรวจสอบอาคาร
       
             เมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้ตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแล้วพบว่าอาคารมีความปลอดภัยเพียงพอ และถูก ต้องตามกฎหมายและมาตรฐานแล้ว ผู้ตรวจสอบจึงลงนามรับรองผลการตรวจสอบสภาพอาคารนั้นแต่ถ้าผู้ตรวจสอบพบว่าอาคาร และอุปกรณ์ประกอบของอาคารบางส่วนหรือบางรายการไม่ผ่านหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ผู้ตรวจสอบจะต้องทำข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารเพื่อให้อาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร

             การจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารนั้น หากผู้ตรวจสอบเห็นว่าจำเป็นต้องทำการ ตรวจสอบแบบเชิงวิเคราะห์และคำนวณทางหลักวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบอาคารนั้นแนะนำ
หรือจัดหาวิศวกรหรือสถาปนิกให้แก่เจ้าของอาคารที่สามารถดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ หรือคำนวณพิสูจน์ หรือให้คำปรึกษา ในการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยวิศวกรหรือสถาปนิกนั้นต้องมีคุณสมบัติการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตามพระราช
บัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 หรือพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543

 

• เจ้าของอาคารจะยื่นเอกสารอย่างไร
            
             เจ้าของอาคารจะต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบลงนามรับรองให้แก่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขต พื้นที่ที่อาคารของตนตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ได้แก่
             1. นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
             2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
             3. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
             4. นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

 

• ระยะเวลาพิจารณาดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
             เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานผลการตรวจสอบแล้วจะต้องพิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน และเมื่อเห็นว่า อาคารดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบ สภาพอาคาร โดยไม่ชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

 

 


Site Meter
N. S.  PLUS  ENGINEERING  CO., LTD
24 On Nuch 57, On Nuch Rd., Pravate, Bangkok, 10250
Tel. 0-2721-7763  Fax. 0-2721-7763  E-mail : nsplusengineering@hotmail.com

Copyright by JiPo